สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุร เขต1  

 

 

  ประเภทของสี  

  

 การนำความรู้เรื่องทฤษฎีสีไปใช้

                หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสีมาแล้วในส่วนของเนื้อหาต่างๆ ในส่วนนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับ
การนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้โดยสรุปและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

     1.  การใช้สีในสถานที่มืดและสว่าง  
                  การจะเลือกใช้สีสำหรับตกแต่งภายในบ้าน หรือสถานที่ต่างๆนั้น ประการแรกต้องคำนึงถึงก่อนว่าห้องนั้น

 

 กิจกรรมประจำบท

 แบบฝึกหัด

 

 

ได้รับอิทธิพลของแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า เพราะว่าถ้าห้องนั้นๆมีแสงสว่างส่องถึงมากๆ

 แบบฝึกปฏิบัต

 

 

ก็ควรใช้สีที่ลดความสดใสลงหรือสีกลางๆ (neutralized tints) เพื่อจะได้ดูสบายตา นุ่มละมุน หากเราใช้สีที่สว่าง จะดู
ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันหากห้องนั้น ได้รับแสงจากภายนอกน้อยเราต้องใช้สีที่สดใส  กระจ่ายช่วยในการตกแต่ง
เพราะห้องจะได้ไม่ดู ทึม  มืดทึบ  ทำให้รู้สึกหดหู่     หลักการนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้วยกตัวอย่างเช่นภาพเขียนบนผนัง
ของชาวอียิปต์ ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผนังภายในสิ่งก่อสร้าง  ของชาวอียิปต์นั้นแสงสว่างผ่านเข้าไปได้ น้อยมาก
ดังนั้นชาวอียิปต์นิยมใช้สีที่สดใส สว่างในการสร้างสรรค์ภาพ   การเขียนภาพด้วยสีทีสดใสในที่สว่างน้อยนั้นจะทำให
้ภาพเขียนสว่างพอดีตามต้องการเพราะความมืดของบรรยาการรอบๆอันเป็นสีกลางเข้ามามีบทบาททำให้สีที่สดใส
ลดความสดใสลงไปเอง  แต่ถ้าต้องการวางโครงสีให้สว่างมาก ควรวางโครงสีให้มีความผสานกลมกลืนในจุดพอดี
เพราะแสงสว่าไม่ทำให้ดุลย์ภาพของสีเสียไปแต่อย่างใด
     
      2.    การใช้โครงสีสำหรับกลางแจ้ง
                การนำหลักการด้านโครงสร้างสีไปใช้ในสถานที่กลางแจ้ง  นั้นมีหลักการที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรก      
งานสถาปัตยกรรมแถบประเทศทางตะวันออกเช่นสถาปัตยกรรมไทยมักมุงหลังคาบ้านด้วยสีสดใสเช่น แดง เขียว
เหลือง    น้ำเงิน ท่ามกลางสภาพอากาศที่แดดจัด ร้อนแรง ซึ่งก็ดูสดใสงดงาม เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่หาก
เป็นบ้านเรือนในแถบยุโรป ซึ่งบรรยากาศของเขาทึมๆ ไม่กระจ่างอย่างแถบบ้านเรา หากใช้สีที่สดใสจะดูไม่น่ามอง
บาดตา โดดออกมาจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นควรเลือกใช้สีที่ลดความสดใส ลงจะทำให้น่าดูและกลมกลืนกับ
สภาพแวดล้อม

      3.      สีที่ได้รับอิทธิพลของแสงไฟเข้ามาผสม
             แสงไฟนับว่ามีอิทธิพลต่อโครงสร้างของสีพอสมควร อาจทำให้เกิดความผันแปรได้ในรูปแบบต่างๆเช่น
อาจทำให้สีเข้มขึ้น ส่วางขึ้น มืดลง สลัว หรือจมหายไป  เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว  ก่อนการที่จะวางโครงสี
ใดๆควรคำนึงถึงเรื่องของแสงไฟเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ อาจทำโดยกำหนดโครงสร้างของสีแล้วนำมาทดสอบ
กับแสงไฟจริงดู สังเกตผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดีกว่าเรามาเดาหรือคิดเอง ดังนั้นการกำหนดโครงสร้างสี
ควรทำควบคู่ไปกับการติดตั้งระบบไฟ   เพื่อจะทำให้ทั้งสองส่วนนั้นได่สัมพันธ์กัน ถ้าแสงไฟที่ใช้เป็นแบบธรรมดา
การจัดสีให้ดูกลมกลืนมีหลักเกณฑ์ดังนี้
            สีแดงจะดูสดใสกระจ่าง  ส่วนสีแดงเข้มจะออกไปทางสีแสด  สีม่วงแดงจะออกไปทางสีแดง  สีม่วงคราม
อาจกลายเป็นม่วง  สีครามจะออกไปทางสีเทา  สีน้ำเงินจะดูปรากฏเด่นชัดขึ้น ส่วนสีเหลืองจะออกไปทางส้ม  และ
แสงสว่างจัดขึ้นสีเหลืองอาจจมหายไป ดังนั้นผู้สร้างสรรค์ควรต้องศึกษาทำความเข้าใจในจุดนี้ เพื่อประโยชน์เวลา
นำไปใช้เช่นในการจัดฉากเวทีละคร การแสดง   รวมทั้งเครื่องแต่งกายของตัวแสดง เพราะหากไม่ศึกษาอาจทำให้
เกิดผลเสียตามมาได้เช่นเกิดจุดเด่นในที่ที่ไม่ต้องการ 

 

 

 

....มีต่อหน้า 2  

 

หน้าถัดไป 1 | 2

 [คลิก...ทำแบบฝึกหัดและแบบฝึกปฏิบัติก่อน...เลือกเรื่องที่จะศึกษาต่อไป]

น้ำหนักของสี

สีตัดกัน

สีเอกรงค์

สีส่วนรวม

ระยะของสี

การนำไปใช้

 

 

 

 


จัดทำโดย นายสมพงษ์    เกศีนิลพรรณ
Copyright(c) 2003 [UpDate 2009] Mr.Somphong  Kesinilphan.All right reseved.