สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุร เขต1  

 

 

   วรรณะของสี   

  

         

             จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่อง แม่สี ในกลุ่มต่างๆ และเรื่องวงจรสีมาแล้ว รวมทั้งได้ทำกิจกรรมต่างๆ
คงพอทำให้มีพื้นฐานทางการใช้สีในงานศิลปะแต่ทราบหรือไม่ว่าสีที่นักเรียนผสมออกมาทั้ง 12 สีนั้น สามารถ
แยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color)  วรรณะของสีก็คือ
ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลง
หรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือ
 รันทดใจ 

 

 กิจกรรมประจำบท

 

 แบบฝึกหัด

 

 

 

 แบบฝึกปฏิบัต

 

 

 

         สีที่อยู่ในวรรณะร้อน(warm tone color)                             สีที่อยู่ในวรรณะเย็น(cool tone color)
    ได้แก่ สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง และสีม่วงแดง                            ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า สีม่วงคราม

    สีทั้งสองวรรณะอาจจะไม่ใช่สีที่สดดั่งเช่นในวงจรสี เพราะความจริงแล้วในธรรมชาติยังมีสีที่แตกต่างไปจาก
    ในวงจรสีอีกมากมาย ให้อนุมานว่าสีใดที่ค่อนไปทางสีแดง หรือสีส้มให้ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน ส่วนสีที่ค่อน
    ไปทางน้ำเงิน เขียวให้อนุมานว่าเป็นวรรณะเย็น ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องให้สีหลายสีในภาพอย่าง
    อิสระและผู้เขียนสามารถใช้สีให้เกิดความกลมกลืนเป็นอย่างดีจนชำนาญ จะเห็นว่าเรื่องของวรรณะของสีนั้น
    เข้ามามีบทบาทในภาพเขียนเสมอ กล่าวคือโทนสีของภาพจะแสดงออกไปทางใดทางหนึ่งของวรรณะสี
    นั่นคือองค์ประกอบหนึ่งที่จะนับได้ว่าเป็นภาพเขียนที่ดี คือเมื่อเขียนภาพโทนเย็นก็มักจะเอาสีในวรรณะเย็น
    มาใช้เป็นส่วนมาก ส่วนภาพที่เป็นโทนร้อน ก็จะนำสีในวรรณะร้อนมาใช้มากเช่นกัน ในวรรณะของสีแต่ละฝ่าย
    ยังสามารถแยกออกเป็นอีก 2 ระยะคือ   ร้อนอย่างรุนแรง หรือเข้มข้น คือแสดงออกถึงความรุนแรงของโทนสี
    ในภาพที่มีผลต่ออารมณ์ของผู้ชมอย่างแรง และ  ร้อนอย่างเบาบาง คือให้ความรู้สึกที่ไม่ร้อนแรงมากอย่าง
    ประเภทแรก ใช้โทนสีที่ร้อนแต่ไม่รุนแรง

         ภาพเขียนที่ใช้โทนสีหรือวรรณะของสีเข้ามาเกี่ยวข้องมักแสดงความรู้สึกและอารมณ์ในภาพ เช่นวรรณะเย็น
ให้ควารมรู้สึก เศร้า   สงบ ราบเรียบ ส่วนวรรณะร้อนให้ความรู้สึกรื่นเริง เจิดจ้า และความขัดแย้งขึ้นอยู่กับอารมณ์
ของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน    จิตรกรผู้สร้างมีอารมณ์ใดในขณะนั้นก็มักแสดงออกมาถึงโทนสีและความรู้สึก
ในภาพเขียนเช่น ปิคัสโซ่ (จิตรกรชาวเสปญ เกิดที่เมือง Malage  เมื่อปี ค.ศ.1881) ซึ่งเมื่อขณะที่เขาเป็นหนุ่มมี
ความรักมักสร้างผลงานในวรรณะร้อนค่อนไปทางชมพู ส่วนในช่วงที่เขาทุกข์ระทม ภาพเขียนเขาจะใช้สีในวรรณะ
เย็นค่อนไปทางน้ำเงิน รวมทั้งศิลปินต่างๆในประเทศไทยเราก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยใช้ความรู้เรื่องวรรณะ
ของสีไปใช้ในการสร้างสรรค์เช่นเดียวกัน

  • [คลิกที่ปุ่มเพื่อชมวีดีโอสาธิตการผสมสี] 
     

 

 

 

  เมื่อศีกษาจบหน้านี้แล้วให้นักเรียนทำกิจกรรมประจำบท | แบบฝึกหัด | แบบฝึกปฏิบัต   

 

 

 

 

 


จัดทำโดย นายสมพงษ์    เกศีนิลพรรณ
Copyright(c) 2003 [UpDate 2009] Mr.Somphong  Kesinilphan.All right reseved.