สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุร เขต1  

 

 

  ประเภทของสี  

  

 
ระยะของสี

             เมื่อกล่าวถึงระยะของสี นั้นก็หมายรวมถึงระยะใกล้ของแสงเงาที่เกิดแก่วัตถุนั้นๆด้วย ซึ่งหลักการของ
น้ำหนักใกล้ไกลของวัตถุคือ วัตถุที่ใกล้ตา แสงเงาจะสว่างจัดชัดเจน และเมื่อระยะไกลออกไปทั้งแสงและเงาก็จะ
จางลงไปด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะระยะไกลนั้นจะมีเรื่องของบรรยากาศเข้ามากรองทั้งแสงและเงาให้จางลง ระยะ
ยิ่งไกลออกไปแสงเงายิ่งจางไป จางไป จนกลายเป็นภาพแบนราบตัวอย่างเช่นภาพเขียนทิวทัศน์ที่มีฉากหลัง

 

 กิจกรรมประจำบท

 แบบฝึกหัด

 

 

เป็นทิวเขา เราจะเห็นว่าทิวเขานั้นจะเป็นสีจางๆแบนๆไม่มีแสงเงาเพราะถูกบรรยากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง

 แบบฝึกปฏิบัติ

 

 

 
ตัวอย่างภาพทิวทัศน์ที่มีเรื่องของบรรยากาศมาเกี่ยวข้อง

    ระยะใกล้ไกลของสี (Perspective of Color)  มีหลักเกณฑ์ที่พอสรุปได้ดังนี้

  • วัตถุที่มีสียิ่งไกลออกไป สีของวัตถุก็ยิ่งใกล้เป็นสีกลางเข้าไปทุกที
  • น้ำหนักของวัตถุที่มีสี เมื่อไกลออกไป ก็ยิ่งจางลงกลายเป็นสีกลางและ  น้ำหนักก็อ่อนลงด้วย ถ้ามีส่วนที่
    เป็นแสงสว่าง ก็จะมืดมัวลง เงาก็จะจางลง และค่อยๆปรับลงจนไม่มีน้ำหนัก
  • วัตถุที่มีสีตามระยะใกล้ไกล แสงเงาจะมีลักษณะดังตัวอย่าง เช่น พุ่มไม้ที่มีสีเหลืองเขียวที่มีพืช
    ปกคลุมเมื่อถูกแสงจัดๆ เงาจะออกไปทางสีม่วงแดง  เมื่อระยะไกลออกไปเงาจะเป็นสีที่ค่อนไปทางน้ำเงิน
    และเมื่อไกลจนเห็นระยะลิบๆ เงาจะกลายเป็นสีเขียว

ภาพตัวอย่างแสเดงสีของวัตถุในระยะใกล้และไกลออกไป

           จะสังเกตได้ว่าเงาของวัตถุที่มีสีจะมีสีตรงข้ามเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อวัตถุนั้นอยู่ใกล้แต่เมื่อไกลออกไปก็จะ
จางลง เงาก็อ่อนลงหลักเกณฑ์ก็จะคล้ยคลึงกันกล่าวคือ เมื่อวัตถุที่มีสีอยู่ไกลออกไป แสงที่กระทบวัตถุก็จะน้อย
ลงไปด้วย   ทั้งนี้เนื่องจากถูกบรรยากาศครอบคลุมมีลักษณะคล้ายว่ามีกระดาษฝ้าบังอยู่ และสำหรับวัตถุที่มีสี เมื่อ
อยู่ในที่มีแสงน้อย จะมีสีคล้ำเป็นสีกลาง ส่วนแสงสว่งก็จะดูแบนๆ ดังตัวอย่างข้างต้น สังเกตุได้ว่าสีของบรรยากาศ
นั้นจะไม่ตายตัวว่าจะเป็นสีใดตลอดไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ฤดูกาล ภูมิประเทศนั้นๆซึ่งพอจำแนกได้
เบื้องต้นคือบรรยากาศตอนเช้า จะมีสีน้ำเงินอ่อน ตอนเที่ยงจะเป็นสีม่วงน้ำเงิน ตอนบ่าย สีม่วงนั้นจะมีความเข้ม
มากขึ้น   ซึ่งหลักการสังเกตสีบรรยากาศนั้น เราจะไม่มองที่จุดๆเดียวของธรรมชาตินั้น แต่เราต้องมองบรรยากาศ
โดยรวม จึงจะสังเกตเห็นได้ดี 

 

 

 

 

 

 [คลิก...ทำแบบฝึกหัดและแบบฝึกปฏิบัติก่อน...เลือกเรื่องที่จะศึกษาต่อไป]

น้ำหนักของสี

สีตัดกัน

สีเอกรงค์

สีส่วนรวม

ระยะของสี

การนำไปใช้

 

 

 

 


จัดทำโดย นายสมพงษ์    เกศีนิลพรรณ
Copyright(c) 2003 [UpDate 2009] Mr.Somphong  Kesinilphan.All right reseved.