สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุร เขต1  

 

 

  ประเภทของสี  

  

 สีส่วนรวม หรือสีครอบงำ

     สีส่วนรวมหรือสีครอบงำหมายถึงสีใดสีหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าสีอื่นในพื้นที่หรือภาพนั้นๆ เช่น ภาพต้นไม้
่ที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว แต่ความจริงแล้วในสีเขียวของต้นไม้นั้นอาจมีสีอื่นประกอบอยู่ด้วยเช่น สี เขียวอ่อน
สีเหลือง สีน้ำตาล เป็นต้น  งานจิตรกรรมทั้งแนวปัจจุบันและสมัยใหม่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้อิทธิพลของสีส่วนรวม    
ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้างสรรค์เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น แม้ว่าสีอื่นจะเด่นชัดในบางส่วนของภาพก็ตาม  

 

 กิจกรรมประจำบท

 แบบฝึกหัด

 

 

     สีส่วนรวมหรือสีครอบงำนี้จะช่วยทำให้ภาพมีเอกภาพและสมบูรณ์ขึ้น    ตัวอย่างเช่น  ภาพเขียนของศิลปิน

 แบบฝึกปฏิบัติ

 

 

ชาวอิตาเลี่ยนสมัยโบราณ    มักจะใช้สีเหลืองหรือสีน้ำตาลเป็นสีครอบงำทั้งหมดภายในภาพแทบทุกชิ้น ทั้งนี้
ไม่จำกัดเฉพาะสองสีที่ยกตัวอย่างมาเท่านั้นอาจเป็นสีกลุ่มอื่นๆได้  
      สีครอบงำหรือสีส่วนรวม อาจจำแนกได้สองประการคือ

  • ประการแรกครอบงำโดยมีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ เช่นภาพทุ่งหญ้า  ซึ่งแม้จะมีสีอื่นๆของพวกดอกไม้  
    ลำต้น ก็ตามแต่สีส่วนรวมก็ยังเป็นสีเขียวของทุ่งหญ้าอยู่นั่นเอง เราเรียกสีครอบงำหรือสีส่วนรรวมของภาพ
    คือสีเขียวนั่นเอง      ยกตัวอย่างง่ายๆอีกประการเช่นเวลาเราดูฟุตบอลที่แข่งกันในสนาม จากมุมสูงๆเราจะเห็น
    สีส่วนรวมเป็นสีเขียวครอบงำอยู่ถึงแม้จะมีสีอื่นๆของนักกีฬาอยู่ก็ตาม ก็ถูกอิทธิพลของสีเขียวข่มลงจนหมด   
                                                       
                                                     ภาพแสดงตัวอย่าง สีส่วนรวมที่มีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ 
  • ประการที่สอง การครอบงำของสีที่เกิดขึ้นระหว่างสี เช่น ถ้าเรานำเอาสีแดงและสีเหลืองมาระบายเป็นจุดๆ
    บนกระดาษสลับกันเต็มไปหมด  เมื่อดูกระดาษนั้นในระยะห่างพอสมควรเราจะเห็นสองสีนั้นผสมกันกลายเป็น
    สีส้ม  หรือเช่นเดียวกับการที่เราเขียนภาพด้วยสีหลายๆสีแล้วเมื่อดูรวมๆแล้วกลายเป็นสีที่ผสมออกมาเด่นชัด
    เช่นต้นไม้ ประกอบด้วยสีเหลือง น้ำตาล ดำ เขียวแก่ เขียวอ่อน แต่เมื่อดูห่างๆก็กลับกลายเป็นสีเขียว

         การวางโครงสร้างสี สำหรับห้องเด็กเล่น ห้องนอน และห้องรับแขก  จะต้องนำความรู้เรื่องสีส่วนรวมมาใช้
ให้ถูกต้องเช่น ห้องเด็กเล่นควรใช้สีโครงสร้างในวรรณะร้อนเช่น เหลืองอ่อน ม่วงแดงอ่อนๆ  ส่วนห้องนั่งเล่น
ไม่ควรใช้สีฉูดฉาด  ควรใช้สีวรรณะเย็นเพราะเป็นห้องที่ใช้มากที่สุด หากใช้สีสดใสอาจทำให้เบื่อง่าย นอกจากนี้
ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือการนำเอาไปใช้ในการกำหนดโครงสีบนผ้า  เช่น ถ้าเป็นเสื้อผ้าเด็กควรเน้นโครงสีที่ดู
สดชื่น เช่น เหลือง หรือสีที่มีน้ำหนักตัดกันรุนแรงเช่น ขาวกับน้ำเงิน ส่วนสีน้ำตาล ปูนแห้ง สีเทา นั้นเหมาะกับ

 

 

 

 การวางโครงสีในผ้าผู้สูงอายุ เป็นต้น
 

 

 [คลิก...ทำแบบฝึกหัดและแบบฝึกปฏิบัติก่อน...เลือกเรื่องที่จะศึกษาต่อไป]

น้ำหนักของสี

สีตัดกัน

สีเอกรงค์

สีส่วนรวม

ระยะของสี

การนำไปใช้

 

 

 

 


จัดทำโดย นายสมพงษ์    เกศีนิลพรรณ
Copyright(c) 2003 [UpDate 2009] Mr.Somphong  Kesinilphan.All right reseved.