สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุร เขต1  

 

 

  ประเภทของสี  

  

 เอกรงค์ (Monochromes)

           เอกรงค์ คือสี สีเดียวหรือสีที่แสดงออกมาเด่นเพียงสีเดียว ซึ่งเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับสีส่วนรวมหรือ
สีครอบงำ  แต่ที่จริงแล้วสีทั้งสองชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้อาจเป็นสีสด หรือสี
ที่ลดค่าลงไปแล้ว    แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีสดยืนพื้นเพียงสีเดียวแล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะ
ต่างๆ เป็นต้น

 

 กิจกรรมประจำบท

 แบบฝึกหัด

 

 

  หลักเกณฑ์คือ เมื่อเอาสีที่สดใสเป็นจุดเด่นของภาพแล้ว สีที่เป็นส่วนประกอบรอบๆต้องลดค่าความสดลงแล้ว

 แบบฝึกปฏิบัติ

 

 

นำเอาสีที่จุดเด่นนั้นไปผสมด้วยบ้างทุกๆแห่งในภาพ ข้อสำคัญคือ สีที่จะนำมาประกอบนั้นจะใช้กี่สีก็ตาม แต่โดยมาก
นิยมใช้ไม่เกิน 5 สีโดยนำเอามาจากวงจรสีด้านหรือวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ไม่นิยมนำมาจากสองวรรณะ รวมทั้งสี
ที่ต้องการใช้เป็นสียืนพื้น(เอกรงค์)ด้วย     เพราะสีที่อยู่ในด้านหรือวรรณะเดียวกันจะผสานกลมกลืนกันง่ายกว่า    
ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกสีมา 6 สีจากวงจรสีคือ เหลือง ส้ม แสด แดงชาด แดงเลือดนก และม่วงแดง  เมื่อนักเรียน
จะทำเอกรงค์ของสีเหลือง ก็ใช้สีเหลืองเป็นหลักหรือสีเด่น วางจุดใดจุดหนึ่งของภาพแล้วนำสีอื่นๆข้างต้นมาลดค่า
หรือความสดใสลง(neutralized) โดยการนำเอาสีตรงข้างของแต่ละคู่มาผสมลงไปพอสมควร  เมื่อจะระบายก็นำเอา
สีเหลืองที่เป็นสียืนพื้นเข้ามาผสมด้วยเล็กน้อยก็จะได้สีเอกรงค์ของสีเหลืองตามที่เราต้องการ 

 

 

 

 

ตัวอย่างสีเอกรงค์ของสีแดง

               การสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสีเอกรงค์นี้จะได้ผลงานที่งดงาม เพราะโครงสร้างสีจะดูไม่รุนแรง เพราะว่า
จะมีเรื่องสีตัดกันเข้าไปผสม และสีแต่ละวรรณะก็ไม่เข้าไปปะปนซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นงานศิลปะที่มีโครงสร้าง
ประณีต  ผลงานชิ้นเด่นๆของโลกก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของสีเอกรงค์คือ โครงสร้างของสีจะ
ละเมียดละไม ไม่เบื่อง่ายเหมือนกับการใช้สีหลายสีมาผสมผสานกัน
 

 

 [คลิก...ทำแบบฝึกหัดและแบบฝึกปฏิบัติก่อน...เลือกเรื่องที่จะศึกษาต่อไป]

น้ำหนักของสี

สีตัดกัน

สีเอกรงค์

สีส่วนรวม

ระยะของสี

การนำไปใช้

 

 

 

 


จัดทำโดย นายสมพงษ์    เกศีนิลพรรณ
Copyright(c) 2003 [UpDate 2009] Mr.Somphong  Kesinilphan.All right reseved.