โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร)

หน้าหลักanicake_yellow_1.gif

แนะนำบทเรียนanicake_yellow_1.gif

ทดสอบก่อนเรียนanicake_yellow_1.gif

เข้าสู่บทเรียนanicake_yellow_1.gif

แบบฝึกหัดanicake_yellow_1.gif

ทดสอบหลังเรียนanicake_yellow_1.gif

ผู้จัดทำanicake_yellow_1.gif

 

 

เรื่องโครงสร้างโลก

               โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าระบบสุริยะเกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและ แก๊สในอวกาศ (เนบิวลา) แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลทำให้ฝุ่นและแก๊สในอวกาศเกิดการยุบตัวและรวมกับจนใน ที่สุด กลายเป็นระบบสุริยะซึ่งประกอบ ด้วยดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์
ต่างๆ

                1. การศึกษาโครงสร้างโลก

                นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีการต่างๆ ที่จะศึกษาโครงสร้างโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพยายามใช้หลักฐานต่างๆ ที่สามารถค้นพบได้ รวมทั้งใช้ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ และ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
เพื่อจะตอบข้อสงสัยดังกล่าว

                 ในปัจจุบันมนุษย์มีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีสำหรับการศึกษาโครงสร้างของโลกโดย ทางตรง  และในขณะนี้ได้ศึกษาจากหลุมเจาะสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างหิน  ซึ่งหลุมที่เจาะสำรวจที่ลึกที่สุดในปัจจุบันเจาะได้เพียงในระดับความ
ลึก 12.3 กิโลเมตร เท่านั้น  สำหรับการศึกษาโครงสร้างภายในของโลกโดยทางอ้อม ได้จากการศึกษาคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวและจากการทดลองของมนุษย์

                 การ ศึกษาโครงสร้างโลกจากคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก คลื่นที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ คลื่น
ปฐมภูมิ (Primary waves, P waves) และคลื่นทุติยภูมิ (Secondary waves, S waves) ซึ่งเป็นคลื่นในตัวกลาง
(Body wave) โดยที่คลื่นไหวสะเทือนดังกล่าวมีสมบัติสำคัญ ดังนี้

           –  คลื่น P สามารถที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่น S

           –  คลื่น S สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น

 

 

 

 

 

 

ผลิตโดย ครูชลธิชา นามสละ โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
E-mail:ิbow_khun_bk@hotmail.com

 

บทเรียนออนไลน์
วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
ครู ชลธิชา นามสละ