โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร)

หน้าหลักanicake_yellow_1.gif

แนะนำบทเรียนanicake_yellow_1.gif

ทดสอบก่อนเรียนanicake_yellow_1.gif

เข้าสู่บทเรียนanicake_yellow_1.gif

แบบฝึกหัดanicake_yellow_1.gif

ทดสอบหลังเรียนanicake_yellow_1.gif

ผู้จัดทำanicake_yellow_1.gif

 

 

 

2. การแบ่งโครงสร้างโลก

                 ผลจากการตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าโครงสร้างภายในของโลกแสดงลักษณะ
เป็นชั้น แต่ละชั้นมีสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน คือ ธรณีภาค  ฐานธรณีภาค มีโซสเฟียร์  แก่นโลก   ชั้นนอกและ
แก่นโลกชั้นใน

การแบ่งโครงสร้างโลกโดยใช้สมบัติของคลื่นไหวสะเทือน  

                1. ธรณีภาค (lithosphere) เป็นชั้นนอกสุดของโลก พบว่าคลื่น P และคลื่น S จะเคลื่อนที่ผ่านธรณีภาคด้วย
ความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6.4 -8.4 กิโลเมตรต่อวินาที และ 3.7 – 4.8 กิโลเมตรต่อวินาที ตามลำดับ โดย
ทั่วไปชั้นนี้มีความลึกประมาณ 100 กิโลเมตร จากผิวโลก ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นของแข็ง

                 2. ฐานธรณีภาค (asthenosphere) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วไม่สม่ำเสมอ แบ่งออกได้เป็น
2 บริเวณ คือ

                      2.1 เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลง (low velocity zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือน P และ S มีความเร็วลดลง เกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 100 – 400 กิโลเมตร จากผิวโลก และเนื่องจากบริเวณนี้ประกอบ
ด้วยหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก (อุณหภูมิและความดันบริเวณนี้ทำให้แร่บางชนิดที่อยู่ในหินเกิดการหลอมตัว เล็กน้อย)
และวางตัวอยู่ส่วนล่างของธรณีภาค

                      2.2 เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง (transitional zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นใน
อัตราที่ไม่สม่ำเสมอ เกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 400 – 660 กิโลเมตร จากผิวโลก เนื่องจากหินบริเวณส่วนล่าง
ของฐานธรณีภาคเป็นของแข็งที่แกร่ง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่

 

  

 

 

 

hand01_back.gif

 

 

ผลิตโดย ครูชลธิชา นามสละ โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
E-mail:ิbow_khun_bk@hotmail.com

 

บทเรียนออนไลน์
วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
ครู ชลธิชา นามสละ