|
|||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
|
เข้าสู่บทเรียน 1
1. ระบบเวลาบนพื้นโลก พื้นที่ในภูมิภาคต่างๆของโลก มีช่วงเวลา เช้า สาย บ่าย เย็นและกลางคืนไม่ตรงกันเกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ 1.1 โลกมีสัณฐานทรงกลม พื้นผิวโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ไม่พร้อมกัน 1.2 โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
( มองจากขั้วโลกมีลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ) 2. ลองติจูด ( หรือเส้นเมริเดียน) กับระบบเวลาบนพื้นโลก ลองติจูดหรือเส้นเมริเดียน มีความสัมพันธ์กับระบบเวลาบนพื้นโลก ดังนี้ 2.1 เวลาปานกลางกรีนิช ( G M T ) 2.2 เส้นวันที่สากล ( Date Line ) 2.3 เขตเวลามาตรฐานของโลก ( Standard Time Zone ) 2.4 เวลาท้องถิ่น ( Local Time ) 2.5 เวลามาตรฐานสากล ( Standard Time ) 3. ความสำคัญของลองติจูดหรือเส้นเมริเดียน 3.1 เส้นเมริเดียน คือเส้นสมมติที่ลากจากขั่วโลกเหนือไปจรดขั้วโลกใต้
กำหนดให้ทุกเส้นห่างกัน 1 องศาลองติจูด ทรงกลมของโลกมี
360 องศา 3.2 โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ หรือ 360
องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมง การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้ดินแดนประเทศต่างๆเกิดเวลากลางวันและ 3.3 เวลา 1 ชั่วโมง ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนจากเส้นเมริเดียนไป
15 องศา ลองติจูด โดยลองติจูดด้านตะวันออกจะได้รับแสงอาทิตย์ 3.4 ระยะลองติจูดห่างกัน 1 องศา เวลาต่างกัน 4 นาที
สรุป ทุกๆ 15 องศาลองติจูด เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง ดังนั้นประเทศต่างๆจึงมีเวลาท้องถิ่นแตกต่างกันด้วย ทำให้ต้องมีการจัดระบบเวลาบนพื้นที่ต่างๆของพื้นที่ผิวโลก ได้แก่ เวลาท้องถิ่น และเวลามาตรฐานสากล 4. เวลาปานกลางกรีนิช ( GMT ) เวลาปานกลางกรีนิช ( Greenwich Mean Time : GMT ) คือเวลาท้องถิ่นของตำบลกรีนิช
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเส้นเมริเดียนแรก ตัวอย่าง เวลา 20.00 น
ของประเทศไทย ตรงกับ 13.00 น ตามเวลาปานกลางกรีนิชหรือเวลามาตรฐานสากลกรีนิช
เพราะเวลาประเทศไทยเร็ว 5. เส้นวันที่ ( Date line ) 5.1 เส้นวันที่ เส้นวันที่สากลหรือเส้นแบ่งวันสากล(International
Date Line ) คือเส้นสมมติที่ลากทับเส้นเมริเดียนที่
180 องศาลองติจูด ซึ่งนานาชาติ * เส้นวันที่หรือเส้นแบ่งวันสากล ไม่ลากผ่านแผ่นดินและไม่เป็นเส้นตรงเหมือนเส้นเมริเดียนแต่จะลากไปมาตามแนวเขตการปกครองของประเทศต่างๆ 5.2 ข้ามเส้นแบ่งวันสากลไปทางทิศตะวันตก จะต้องเพิ่มวัน
1 วัน ถ้าเดินทางจากดินแดนด้านตะวันออกของเส้นแบ่งวันสากล
ข้ามเส้นนี้ไปยังดินแดน 5.3 ข้ามเส้นแบ่งวันสากลไปทางตะวันออก จะต้องลดลง 1 วัน ถ้าเดินทางจากดินแดนด้านตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ข้ามเส้นนี้ไปยังดินแดนด้านตะวันออกจะต้องลดเวลาลง 1 วัน 6. เขตเวลามาตรฐานของโลก ( Standard Time Zone ) 6.1 เขตเวลามาตรฐานของโลก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เขตภาคเวลา ( Time Zone ) คือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตภาคเวลาต่างๆทั่วโลก
6.2 เส้นเมริเดียนแรก 0 องศาลองติจูด ที่ตำบลกรีนิช เป็นแนวแบ่งเส้นเมริเดียนตะวันตกและเส้นเมริเดียนตะวันออก ซีกละ 180 องศาลองติจูด 6.3 เส้นเมริเดียนมาตรฐาน ( Standard Meridian ) คือเส้นเมริเดียนที่มีระยะห่างกัน 15 องศาลองติจูด ทั้งด้านตะวันตกและด้านตะวันออก ได้แก่ เส้นเมริเดียน 0
, 15 , 30 , 45 , 60 , 75 , 90 , 105 , 12น , 135 , 150
, 165 ,และ180 องศาลองติจูด ทุกๆเส้นเป็นตัวกำหนดเวลามาตรฐานของ เส้นเมริเดียนมาตรฐานแต่ละเส้นมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง เพราะทุกเส้นอยู่ห่างกัน 15 องศาลองติจูด 6.4 เขตเวลามาตราฐานของโลก มี 24 เขต เวลาของซีกตะวันออกเร็วกว่าตะวันตก - เส้นเมริเดียนซีกตะวันออก เวลาจะเร็วกว่าเวลากรีนิช องศาละ 4 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 เส้นเมริเดียน ( 15 X 4 = 60 ) - เส้นเวลาเมริเดียนซีกตะวันตก เวลาจะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช องศาละ 4 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 เส้นเมริเดีย
|
|
|||||||||||||||||||
ผลิตโดย ครูสุระเชษฐ ขำเพชร โรงเรียนวัดนาพรมฯ
อ.เมือง จ.เพชรบุรี สพป.พบ.เขต๑ |
|
บทเรียนออนไลน์
วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
โรงเรียนวัดนาพรมฯ อำเภอเมือง เพชรบุรี สพป.พบ. เขต1